วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

นาจอก....หมู่บ้านประวัติศาสตร์

บ้านนาจอก เป็นหมู่บ้านอยู่ในเขต ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม มีจำนวน 129 หลังคาเรือน ประชากร 734 คน ในอดีตในช่วงสงครามอินโดจีน ประธานาธิบดีโฮจิมินห์ พร้อมด้วยกลุ่มผู้ร่วมอุดมการณ์ ได้เดินทางเข้ามาเพื่อหาลู่ทางกอบกู้เอกราช อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม ในช่วงปี พ. ศ 2466 - 2474 โดยพำนักอยู่ ณ บ้านนาจอก ท่านได้สร้างบ้านพักและเครื่องใช้ใม้สอย ปัจจุบันยังเหลือบางส่วนเป็นหลักฐาน

...........บ้านของประธานาธิบดีโฮจิมินห์ เป็นบ้านชั้นเดียว บริเวณหน้าบ้านมีต้นมะพร้าว บริเวณโดยรอบได้ปลูกต้นหมากและต้นไม้ไผ่เป็นอาณาเขต ในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวยังคงรักษาสภาพเดิม แต่บ้านพักอาศัยได้ทรุดโทรมและถูกรื้อถอนเรียบร้อยแล้ว ( อยู่บริเวณบ้านนายเตียว เหงี่ยนวัน เลขที่ 48 บ้านนาจอก หมู่ที่ 5 )การมาพักอยู่บ้านนาจอกเป็นเวลา 7 ปี ของท่าน เพื่อเป็นสถานที่ติดต่อประสานงานวางแผนและเคลื่อนไหวในการต่อสู้ เพื่อปลดปล่อยชาติ ซึ่งถือ ได้ว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่ง เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ส่งผลให้การกู้ชาติประสบผลสำเร็จ

...........ด้วยความสำคัญของพื้นที่บ้านนาจอก จังหวัดนครพนม ถือเป็นคุณูปการสำคัญในการกอบกู้อิสรภาพให้แก่ประเทศเวียตนาม น่าจะดำเนินการสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อสัมพันธ์ภาพอันดี ของประเทศไทย และประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม อันจะนำมาซึ่งความวัฒนาถาวรสืบไป จังหวัดนครพนม จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาหมู่บ้านนาจอก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและมิตรภาพไทย - เวียตนาม เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน ไทยประชาชนเวียตนาม ให้เป็นด้วยความยั่งยืน และจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว ให้เกิดขึ้นแก่ท้องถิ่น และในระดับประเทศ

...........ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขณะท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนครพนม ได้มีการดำริให้จังหวัดนครพนม และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการพัฒนาบ้านนาจอก เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นการพัฒนารายได้ให้แก่ท้องถิ่น และระดับประเทศ
ตั้งแต่ปี พ . ศ 2542 เป็นต้นมาได้มีการติดต่อประสานงานระหว่างการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย กระทรวงการต่างประเทศไทย และกระทรวงการต่างประเทศเวียตนามอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 สถานเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงฮานอย ได้แจ้งความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศเวียตนามว่า รัฐบาลเวีนตนามยินดีสนับสนุนแนวความคิดของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่จะร่วมกับจังหวัดนครพนม ดำเนินการโครงการพัฒนาบ้านนาจอก ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและมิตรภาพ ไทย - เวียตนาม ทางรัฐบาลเวียตนามได้กำหนดให้พิพิธภัณฑ์อดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ กระทรวงวัฒธรรมและข่าวสารเวียตนามเป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับฝ่ายไทย กระทรวงการต่างประเทศเวียตนามได้แจ้งเป็นการภายในว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมูลนิธิ Foudation For Reseatch and Development Network ( FRDN ) ได้มีการประสานงานเพื่อร่วมดำเนินการ

...........วันที่ 15 ธันวาคม 2542 ได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ ( Memorandum of Understanding : MOU ) ระหว่างห่อการค้าจังหวัดนครพนม ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครพนม และพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ ( Museum Of Ho Chi Minh : MHOM ) ของเวียตนาม โดยการสนับสนุนของกองทุนเพื่อเครือข่ายของการวิจัยและพัฒนา ( Fand for Research and Developmen Network ) ซึ่งข้อตกลงจะดำเนินการร่วมกันคือ1. ร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าและรวบรวมสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับประวัติและเรื่องราวที่สำคัญของอดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ทั้งในประเทศไทย และประเทศเวียตนาม ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องราว ของประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ในช่วงที่พำนักอยู่ที่บ้านนาจอก2. การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนและผู้ชำนาญระหว่างกัน3. แลกเปลี่ยนการศึกษาและข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวขัอง4. ประสานงานในการจัดประชุมทางวิชาการ ฯลฯ

...........วันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เอกอัคราชทูตที่ปรึกษา ณ กรุงฮานอย ได้เข้าพบรือกับนายเหงียน วันติณ รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงวัฒนาธรรม และข่าวสารเวียตนาม และผู้ชำนาญการพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ ที่กระทรวงวัฒนาธรรมและข่าวสารเวียตนาม ซึ่งได้รับแจ้งว่าพิพิธภัณฑ์โฮจิมินห์ มีการรวบรวมเอกสารสำคัญ ภาพถ่าย เครื่องใช้สอย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ เพื่อมอบให้ฝ่ายไทยไว้จัดแสดง และขอให้ฝ่ายไทยได้แจ้งรายละเอียดเนื้อที่แผนผัง และการจัดสถานที่ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ไปเพื่อทราบ
...........ต้นปี 2545 จังหวัดนครพนม ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชมรมชาวไทยเชื้อสายเวียตนาม ได้จัดโครงการปรับปรุงพื้นที่หมู่บ้านนาจอก โดยจัดสร้างบ้านพักจำลองของอดีตประธานาธบดีโฮจิมินห์ และองค์ประกอบอื่นๆ ซึ่งได้รวบรวมงบประมาณจัดตั้งกองทุนนำไปดำเนินการจำนวน 219,912 บาท
ในห้วงเวลาที่ผ่านมา มีบุคคลสำคัญ ที่ประชาชนทั่วไป และผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์หลายคณะ ที่สำคัญ ได้เดินทางมาเยือนบ้านนาจอก ชมบริเวณที่เคยเป็นที่พักอาศัยของอดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ได้แก่
( 1 ) นายมุย ซวนยิค ผู้ว่าการท่องเที่ยว แห่งประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2541
( 2 ) ฯพณฯ เหงี่ยน คินมิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2542
( 3 ) นายเล มินเฮือง อธิบดีกรมตำรวจ ประเทศสาธารณสังคมนิยมเวียตนาม ได้เดินทางมาเยือนจังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2542
( 4 ) ฯพณฯ ท่านฟาน วัน ขาย เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2543 รัฐบาลไทยได้เชิญ ฯพณฯ ท่านฟาน วัน ขาย นายกรัฐมนตรีของประเทศสาธารณสังคมนิยมเวียตนาม มาเยือนประเทศไทย และได้ให้เกียรติแก่จังหวัดนครพนมเดินทางมาเยือนพื้นที่โครงการ ถือเป็นการให้ความสำคัญกับการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศไทย และประเทศสาธารณสังคมนิยมเวียตนาม

เล่าเรื่อง ลุงโฮ ในไทย

เล่าเรื่อง ลุงโฮ ในไทยโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถ นันทจักร์
Asst Prof.Dr.Artha Nantachukra
มหาวิทยาลัยมหาสารคามemail : Artha_@yahoo.com
สถาบันเศรษฐศาสตร์การเมืองลุ่มน้ำโขง
Institute of Political Economics of Mekong Sub-region

การเปิดประวัติศาสตร์และการรับรู้เรื่องราวของ โฮ จี มินท์ นั้นถือกำเนิดในต้นปี 1945 กับ 9 ปีในขบวนการต่อต้านฝรั่งเศส โดยเฉพาะยุทธการที่เจื่องเซิน (Truong Son) ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกของจังหวัดเงห์ อาน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของ โฮ จี มินท์ ในประเทศเวียตนามจากยุทธการที่เจื่องเซิน ได้มีการขยายงานทอดยาวมาทางภาคใต้มาสิ้นสุดที่ที่ราบสูงลาม เวียน (Lam Vien) ในจังหวัดดัค ลัค (Dak luk) จากยอดเขามากกว่าหนึ่งพันยอดที่ทอดยาวมายังฝั่งทะเลตะวันออก ผ่านเข้าไปยังภาคกลาง ภาคใต้ของประเทศลาวและในภาคเหนือของเขมรในที่สุดจากเขตที่ราบสูงทางภาคตะวันตกที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 2000 เมตร ทอดยาวมายังภาคตะวันออกที่เป็นชายฝั่งทะเล จากทำเลที่แตกต่างย่อมมีผลต่อความแตกต่างทางด้านพื้นที่ ฤดูกาล แต่นั่นกลับกลายเป็นจุดเด่นของยุทธภูมิ ที่ใน ที่สุด โฮ จี มินท์ ก็ได้ใช้พื้นที่ดังกล่าวในการต่อต้านอเมริกา ในต้นเดือนสิงหาคม ปี 1945 และการต่อสู้ได้สิ้นสุดลงหลังปี 1959 เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาที่เจนีวา (Geneva Agreement) .....

ตำนานและคำบอกเล่าเรื่อง ลุงโฮ ในประเทศไทย หลังจากปี 1959 ผู้นำรัฐบาลภาคใต้คือ โง ดินท์ เดียม (Ngo Dinh Diem) ไม่ได้สนองตอบสอนงตามพันธะสัญญาของสนธิสัญญาที่เจนีวา (Geneva Agreement) จากมูลเหตุดังกล่าวจึงทำให้กองกำลังทางภาคเหนือ โดยเฉพาะหน่วยรบ 559 กองทหารที่เจื่อง เซิน (Troung Son) ซึ่งมีระหัสว่า "Khe Co" ได้เคลื่อนพลลงใต้เพื่อยึดอำนาจในวันที่ 20 พฤษภาคม 1959กองกำลังทหารราบ ประมาณ 600 นาย ได้เริ่มเคลื่อนพลโดยทางเท้า ถึงแม้ว่าจะสามารถเคลื่อนได้เพียงวันละ 20 กิโลเมตรก็ตาม จากกองกำลังที่อยู่ในวัยฉกรรจ์ อายุประมาณ 15 ปี สามารถที่จะสร้างเส้นทางการเดินทางได้ตลอดสาย ผนวกกับคนหนุ่มที่มีอายุระหว่าง 18 – 20 ปี ที่มีประสบการณ์สามารถเคลื่อนกองกำลังผ่านอุปสรรค์ที่เลวร้ายมาได้อย่างน่าภาคภูมิใจจากถนนสายเล็กที่สร้างโดยคนวัยหนุ่มสาวนี่เองที่ถือว่ามีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของภูมิภาคอย่างยิ่ง เพราะนั่นคือถนนแห่งชัยหมายเลข ที่ 20 และถือคือชุมทางของกาครเชื่อมถนนสายปฏิวันที่รู้จักในชื่อถนน A B C K โดยถนนหลัก A B C นั้น จะเป็นถนนที่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนกำลังพลขนาดใหญ่ แต่ใรส่วนของถนนสาน K นั้น จะสร้างตัดลัดเลาะป่า ซึ่งเรารู้จักภายหลังในชื่อถนนสายโฮ จี มินท์ตลอดระยะเวลาร่วม 30 ปี ของการสร้างเส้นทางสาย โฮ จี มินท์ จนกลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เพื่อการสงคราม มาวันนี้เส้นทางสายดังกล่าวได้กลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเวียตนาม เพราะรัฐบาลได้อนุมัติโครงการในการสร้างระบบเชื่อมทางที่เรียกว่า มอเตอร์ เวย์ (Motorway System) และนี่ได้กลายเป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อจากภาคเหนือสู่ภาคใต้ของเวียตนาม พรรคคอมมิวนีสต์เวียตนาม ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1930 ภายใต้การชี้นำขององค์การคอมมิวนีสต์สากล และได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคคอมมิวนีสต์อินโดจีน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าชื่อที่ถูกเรียกขานมากว่าก็คือ สหพันธรัฐอินโดจีน ถึงแม้ว่าโดยนัยยะแล้วจะมีความหมายที่กินความากมายกว่าที่เข้าใจ แต่จะอย่างไรก็ตาม ความหมายและชื่อที่ใช้ว่า ประเทศที่มีความสัมพันธ์แบบพิเศษ (Special Relationship) กลับเป็นความหมายที่ใช้กันมากที่สุดในหมู่มวลสมาชิก ซึ่งได้แก่ เวียตนาม ลาว และเขมรเมื่อ ลุงโฮ เดินทางเข้ามาในประเทศไทย กรณีการเข้ามาในประเทศไทยของ โฮ จี มินท์ นั้น จะปรากฏชัดเจนในหลักฐานว่า โฮ จี มินท์ ได้เดินทางเข้ามาไทยในระยะที่มีการต่อสู้เพื่อเอกราชกับฝรั่งเศส โดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 จนสิ้นสุดสงครามโลก โดยเฉพาะแผ่นดินไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดเมื่อพูดถึงโฮ จี มินท์ ที่ประเทศไทย

คงต้องยอมรับว่านี่คือมุมมืดทางประวัติศาสตร์ของอินโดจีน คำอธิบายมีเพียงประเด็นเดียวก็คือ ประเทศไทยกลัวสังคมนิยม ? และยิ่งเมื่อประเทศเวียดนามปฏิวัติประชาชาติเสร็จสิ้นโดยมีผู้นำการปฏิวัติคือ โฮ จี มินท์ ด้วยแล้ว การพูดถึงเวียดนาม การพูดถึง โฮ จี มินท์ จึงกลายเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคมไทยมาโดยตลอด จากความพยายามในการที่จะอธิบายความมั่นคงของชาติ คือการต่อต้านคอมมิวนีสต์ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด เพราะนั่นคือ นโยบายของชาติ? แต่ถึงจะเป็นโลกในศตวรรษที่ 21 ด้วยแล้วก็ตามกลิ่นอายของความกลัวก็ยังปกคลุมในสำนึกของคนหลายๆ กลุ่ม อยู่ ถึงแม้ว่าบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นจะเกิดจากทั้งคนของรัฐและคนเวียดนามในประเทศไทยก็ตาม พื้นที่การเดินทางเพื่อการปฏิวัติ หลักฐานกล่าวไว้ตรงกันก็คือการเคลื่อนไหวนั้น จะเป็นพื้นที่ภาคอีสาน ไม่ว่าจะเป็นอุบลราชธานี อำนาจเจริญ มุกดาหาร อุดรธานี สกลนคร และหนองคายเป็นอาทิ ทั้งนี้ก็เพราะว่า พื้นที่ดังกล่าวนั้น เป็นพื้นที่ๆ มีคนเวียตนามอพยพอาศัยอยู่อย่างแน่นหนา และเหตุผลอีกประการหนึ่งที่สามารถสนับสนุนได้ก็คือ พื้นที่การเคลื่อนไหวนั้น จะเป็นพื้นที่ชายแดนไทย - ลาว เป็นส่วนใหญ่พื้นที่ที่ดูประหนึ่งเป็นหัวหอกในการเปิดเรื่องราวของโฮ จี มินท์ ในประเทศไทย คือพื้นที่บ้านนาจอก หรือบ้านใหม่ หรือบ้านลัก หรือบ้านต้นผึ้ง ตำบลหนองญาติ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม จะอย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงบ้านนาจอก หลายๆ คนที่เป็นนักประวัติศาสตร์ หรือเป็นคนที่สนใจเรื่องของบ้านเมือง โดยเฉพาะเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไทย- เวียดนามแล้วคงพูดได้ว่าไม่มีใครไม่รู้และไม่เห็นความสำคัญของบ้านนาจอก เพราะบ้านนาจอก คือ หนึ่งในสายสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ระหว่างไทย-เวียดนาม โดยเฉพาะระยะการต่อสู้เพื่อเอกราชของเวียดนามโดยมี โฮ จี มินท์ เป็นผู้นำเรื่องดังกล่าว ถูกจุดประเด็นขึ้นเมื่อผู้เขียนได้กลับจากการเรียนต่อที่ประเทศสังคมนิยมเวียดนาม และได้มาทำงานที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม สิ่งหนึ่งที่ได้รับรู้จากเอกสาร ก็คือหมู่บ้านที่ชื่อว่า บ้านต้นผึ้ง หรือบ้านใหม่ คือบ้านที่โฮ จี มินท์ เคยมาพำนักแต่เอกสารก็ไม่ได้พูดอะไรไปมากกว่านั้น แต่ท้ายที่สุดจึงรู้ว่า บ้านต้นผึ้ง หรือบ้านใหม่ก็คือ บ้านนาจอก ที่เรารู้อยู่ในปัจจุบัน

จุดเริ่มต้นที่ถือว่าเป็นชิ้นเป็นอัน ก็คงจะเป็นการประสานงานกับพิพิธภัณฑ์ โฮ จี มินท์ ที่ฮานอย จนในที่สุด ในวันที่ 15 ธันวาคม 254 ที่จังหวัดนครพนม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนคร หอการค้าจังหวัดนครพนม ภาครัฐและเอกชนฝ่ายไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีการทางการฑูตของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามในบันทึกช่วยจำอันเป็นพื้นฐานที่ทำให้โครงการบ้านนาจอกสำเร็จในระยะต่อมาในการลงนามครั้งนี้ ได้จัดให้มีขึ้น ในวันที่ 15 ธันวาคม 2542 ณ โรงแรมนครพนมรีเวอร์วิว จังหวัดนครพนม ซึ่งลงนามโดย นายจู ดึก ทิง (Chu Duc Tinh) ในนาม ผอ.พิภิทธภัณฑ์ โฮ จี มินท์ ผศ.ดร.อรรถ นันทจักร์ ในนามกองทุนเครือข่ายพัฒนาเพื่อการวิจัย นายสากล พูนศิริกุล ในนามหอการค้าจัวหวัดนครพนม และนายคมสัน บุพศิริ ในนามศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครพนม ในความร่วมมือดังกล่าว มีรายละเอียด 5 ประการ คือ เป็นการร่วมมือในการศึกษาค้นคว้าในเชิงวิชาการ ในเรื่องเกี่ยวกับ โฮ จี มินท์ เพื่อพัฒนาบ้านนาจอก เพื่อพัฒนาบ้านนาจอกให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ และเป็นที่ศึกษาค้นคว้าที่สำคัญต่อไป ให้มีการแลกเปลี่ยนผุ้เชี่ยวชาญระหว่างสองประเทศ ให้มีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางวิชาการ ให้มีการประชุมสัมมนาและพบปะทางวิชาการ ในการทำข้อตกลง ในการร่วมมือกันครั้งนี้ก็ดูจะเป็นตำนาน ของการบุกเบิกไม่น้อย เพราะกว่าจะมีการตกลงในการที่จะลงนามกันได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงผู้ลงนามอย่างต่อเนื่อง โดยเพราะทางจังหวัดนครพนมเอง ดูจะมีความกล้าน้อยไปบ้าง จึงทำให้ต้องตัดสินใจอย่ารวดเร็วเพราะอย่างก็จะได้เป็นกรอบในการร่วมมือกันในอนาคตเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2545 นี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการระทรวงกลาโหม ฯพณฯพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้เดินทางร่วมงานประเพณีที่จังหวัดนครพนม พร้อมทั้งให้นโยบายกับทางจังหวัดโดยมี สมาชิกสภาผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานในจังหวัดนครพนม และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นโยบายที่ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญในการมอบให้เป็นแนวทางกับจังหวัดนครพนม มีเรื่องหลักๆ คือ นโยบายการพัฒนานครพนมให้เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและร่วมมือในภูมิภาค โดยเรื่องดังกล่าวนี้ได้เน้นถึงการพัฒนาด้วย ไม่ว่าจะเป็นสะพานแห่งที่ 3 ระหว่างนครพนม กับ แขวงคำม่วนของสปป.ลาว หรือแม้แต่ การเตรียมการพัฒนา นโยบายทางการศึกษา รองนายกฯ ประกาศชัดเจนว่านครพนมมีศักยภาพในการที่จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคเมื่อมีการลงนามความร่วมมือ ทางคณะก็ได้เชิญให้ตัวแทนพิพิธภัณฑ์ โฮ จี มินท์ มาเยี่ยมประเทศไทยในปลายปี 2545 นำโดย นายจู ดึก ทิง (Chu Duc Tinh) ในนามพิภิทธภัณฑ์ โฮ จี มินท์ และสมาชิกอีก 5 คน โดยการต้อนรับครั้งนี้ สนับสนุนงบประมาณโดย นายอำเภอชวลิต วิชยสุทธิ์ และมอบหมายให้ ผศ.ดร.อรรถ นันทจักร์ ในนามกองทุนเครือข่ายพัฒนาเพื่อการวิจัย เป็นผู้รับผิดชอบในการต้อนรับและเดินทางในการศึกษาเพื่อตามรอยโฮ จี มินท์ ในประเทศไทย เป็นเวลา 1 สัปดาห์หลังจากนั้นทางคณะของไทยก็ได้เดินทางไปเยี่ยมเป็นการตอบแทน โดยการนำของ นายอำเภอชวลิต วิชยสุทธิ์ โดยคณะเดินทางครั้งนั้นประกอบไปด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรรถ นันทจักร์ ผอ.ณรงค์ ชิณสาร ผอ.คมสัน บุพศิริ และสมาชิกรายการสารคดีเจาะโลกผ่านเลนส์อีก 2 คนในการเดินทางครั้งนี้ได้มีโอกาสเดินทางไปย้อนรอยการเดินทางของ โฮ จี มินท์ทางเหนือสุด โดยเฉพาะในเขตฐานที่มั่นแรกในเวียดนาม ที่รู้จักในชื่อเขต บั๊ก บ๋อ ทางภาคเหนือของเวียตนามเมื่อกลับจากการเยี่ยมเยือนตามโครงการ คณะกรรมการก็ได้มีโครงการที่จะเตรียม การก่อสร้าง ศูนย์ศึกษาวิทยาศาสตร์สังคมแห่งอินโดจีนขึ้น ที่โรงเรียนบ้านนาจอก เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาค้นคว้า ภายใต้การดูแลของวิทยาเขตนครพนม ซึ่งที่คาดกันไว้ก็คือฐานของการเตรียมเป็นจุดขายที่สำคัญสำหรับการเกิดมหาวิทยาลัยนครพนมในอนาคต เมื่อมีการวางแผนและตกลงกันจึงได้มีการศึกษารายละเอียดและขั้นตอนในเชิงวิชาการ โดยความรับผิดชอบงานวิชาการทั้งหมดผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบ และมอบหมายให้คุณรอบรู้ นวลบุญมา นายช่างศูนย์ช่างเร่งรัดพัฒนาชนบท นครพนมเป็นผู้เขียนแบบ โดยทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือนายอำเภอชวลิต วิชยสุทธิ์ เป็นผู้หางบประมาณ และในที่สุดก็สามารถผลักงบผ่านทางเทศบาลนครพนมได้ โดยมีนายกเทศมนตรี นายพิศิษฐ์ ปิติพัฒน์ ทำหน้าที่รับช่วงในการก่อสร้างให้สำเร็จตามจุดมุ่งหมาย

จะอย่างไรก็ตาม การดำเนินการกว่าจะสำเร็จได้ ก็ได้มีการปรับแบบการก่อสร้างพอสมควร เพราะทั้งตัวแทนของเวียดนามและไทยได้มีการเจรจาตกลงกัน เพื่อความเหมาะสมของโครงการ ซึ่งเราจะเห็นดังสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ในการดำเนินโครงการนี้ คงต้องกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่าสิ่งที่ทำและเกิดขึ้นนั้นล้วนแต่เป็นความมุ่งหวังในการที่จะเปิดพรมแดนทางประวัติศาสตร์ เพื่อความเข้าใจอันดีของมวลมนุษยชาติ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของคนไทย – เวียดนาม เพราะเรื่องดังกล่าวนั้น คนตะวันออกด้วยกันเท่านั้นแหละที่จะเข้าใจและอาทรต่อกัน แต่จะอย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ที่มีความพยายามในการที่จะบิดเบือนข้อเท็จจริงก็จะปรากฏตลอดเวลา โดยเฉพาะกับมายาคติทางประวัติศาสตร์ที่ดูเหมือนว่าคนอีกส่วนหนึ่งยังรับไม่ได้ ? และไม่เข้าใจ ผู้เขียนอยากจะกล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการศึกษา วิจัย ไม่ใช่สร้างอนุสรณ์สถานหรืออื่นใดให้กับใครคนใดคนหนึ่ง ? จากการเปิดตัวที่เป็นทางการของโครงการนาจอก จึงเป็นเหมือนม่านฟ้าที่เคยมืดดำได้ถูกเปิดเผยออกมาที่ละเล็กทีละน้อย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายว่าสิ่งที่ปรากฏในหมู่บ้านที่เชื่อว่าโฮ จี มินท์ เคยผ่านไปมาจะมีหลักฐานที่ชัดเจนในการพิสูจน์ ทุกอย่างก็ยังคงเป็นเพียงเรื่องเล่า และตำนาน ที่ต่างคนก็ต่างกล่าวขานกันไป? หากพิจารณาจากงานหลายๆ ชิ้นที่มีการกล่าวถึงโฮ จี มินท์ ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะเป็นเอกสารที่ได้รับการบันทึกโดยคนที่ใก้ลชิดและเคยเดินทางมากับโฮ จี มินท์ในพื้นที่ลาว หรือไทย บางครั้งผู้บันทึกเรื่องราวก็ยังขาดคงวามมั่นใจว่าสิ่งนั้นคือความจริงทั้งหมดหรือไม่ ? เช่นเรื่อง ทั้งเรื่องจริงและมีการอิงนิยาย (Chuyen qia ma co that) ซึ่งเขียนโดย เตริ่น ลาม แต่ภาพของการเป็นนักต่อสู้ที่กล้าหาญและทุ่มเททุกอย่างเพื่อชาติบ้านเมือง

ในอีกมุมหนึ่งก็ถูกถ่ายทอดให้เห็นความนุ่มนวลและอ่อนโยนของโฮ จี มินท์ โดยเฉพาะในกลอนที่กล่าวถึงความผูกพันธ์กับแม่ที่ว่า"Xa nha choc may muoi nien" ซา หญ่า โจกม์ เมีย เมือย เนียน"Toi qua nghe quong me hien ru con" โต๊ย กวา แง หญอง แมะ เหี่ยน รู กอนหมายความว่า "ห่างไกลบ้านแป๊บเดียวก็หลายสิบปี เมื่อคืนได้ยินเสียงแม่กล่อมลูก" นอกจากนั้นเรื่องเล่าของ เต ลาน เรื่อง เล่าเรื่องในการเดินทางสู่ประเทศไทย (Vua di duong vua ke chuyen) ได้สะท้อนภาพของการเดินทางว่ามีการเดินทางโดยทางรถไฟ ผ่านมาทางตอนกลางของประเทศแล้วผ่านลาว และเข้ามายังประเทศไทย และที่ประเทศไทยชาวเวียดนามอยู่ประเทศยามได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี จากความเอื้อเฟื้ออาทรของชาวสยาม ในการพำนักที่ประเทศไทย เพื่อรักษาความปลอดภัยให้การประชุม ทุกคนต้องปลอมตัวเป็นนักเล่นไพ่ในโรงแรม หรือไปเชียร์กีฬาที่สนาม หลังจากการโต้วาทีการประชุมได้ยุติในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1930 (ตรุษจีน) สามฝ่ายตกลงรวมกันเป็นพรรคคอมมิวนิสต์เวียตนาม "Dang Cong San Vietnam" ผลที่ได้มาจากการประชุมครั้งนี้ ทำให้ทุกคนดีใจมากและเพื่อฉลองการเกิดขึ้นของพรรคคอมมิวนิสต์ ประธานโฮ จี มินท์ จัดงานเลี้ยงตรุษจีนทั้งหรูหราและประหยัด จากนั้นโฮ จี มินท์จึงเดินทางไปมาเลเซีย ย้อนกลับฮ่องกงจากงานเขียนของ เตริน ดาง เตี๋ยน เรื่อง "เรื่องสั้นในชีวิตการปฏิวัติของ โฮ จิ มินห์" (Nhung Mau Chuyen Ve doi hoat dong cua Ho Chu Tich) ได้ให้ภาพของชุมชนภาคกลางที่โฮ จี มินท์ ได้เดินทางไปซึ่งนั่นก็คงหมายถึงบ้านดง (Doong) หรือบ้านบ้านดงมด (Doong mot) จังหวัดพิจิตร ซึ่งมีหมู่บ้านหนึ่งเป็นชุมชนคนเวียต นามอาศัยอยู่ โดยในหมู่บ้านมีโรงเรียนสอนภาษาไทยและภาษาเวียด ในแต่ละห้องเรียน นอกจากมีภาพของพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้แขวนที่สูงสุดแล้ว ยังมีภาพของ PHAM HONG THAI ผู้ที่ยอมเสียสละชีวิตเพื่อเสรีภาพของประเทศชาติเวียตนามอีกด้วยอีกภาพหนึ่งที่ทำให้เห็นโลกทัศน์ของคนเวียตนามที่มีต่อชาวไทยก็คือ "ชาวสยามนับถือศาสนาพุทธ ซื่อสัตย์ ผู้ชายถึงเวลาก็ต้องไปบวช จึงอยู่ในประเทศสยาม พระมีจำนวนมาก พระได้ประชากรนับถือ และเลี้ยงดู พระฉันวันละมื้อ ตอนเช้า อาหารได้มาจากการถวายพระของประชากร เมื่อพระฉันแล้วอาหารที่เหลือใครก็สามารถรับประทานได้" ซึ่งคงรวมไปถึง โฮ จี มินท์ หรือเพื่อนร่วมเดินทางจะไม่เสียค่าอาหารเลย

สิ่งที่ถือว่าเป็นจุดเน้นที่นี่คือ ชาวเวียดนามในประเทศสยาม สามัคคีกับชาวสยามเสมอ และนับถือกฎเกณฑ์ของประเทศสยาม จึงได้รับความรักใคร่ของชาวสยามจากงานเขียนของ เล แม่งห์ จิงห์ เรื่อง ผู้เฒ่าจีนอยู่ประเทศ สยาม (Thau Chin O Xiem) ได้ให้ภาพของการอพยพชาวเวียตนามว่า สมัยนั้นชาวเวียดนามอยู่ประเทศสยามมีเกือบ 20,000 คน ทั้งคนเวียตนามเก่าและคนมาใหม่มีตั้งแต่สมัยจักรพรรดิญา ลอง - มินท์ ม่างและตือดึก ( Gia Long Muh Mang, Tu-Duc )ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีคริสต์บ้าง มุสลิมบ้างถึงแม้จะเป็นศาสนาใดก็ตาม ชาวเวียดนามอยู่ประเทศสยามก็มีใจรักชาติ สนับสนุนให้การช่วยเหลือต่างๆ ภาระหน้าที่ของทุกคนที่เดินทางเข้ามาในสยามทุกคนต้องมีหน้าที่ทำงานเหมือนชาวสยาม ทำนา ทำการค้าขาย ประหยัดในการใช้จ่าย ส่วนที่เหลือใช้เพื่อการปฏิวัติ และในระยะปี 1926 ได้มีการขยายเขตงานไปถึงอุดรธานี สกลนคร นครพนม แต่จะอย่างไรก็ตาม ความลับของ โฮ จี มินท์ ก็ยังเป็นความลับเพราะไม่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ไหน ? แต่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี 1928 หมู่บ้านภาคกลางของประเทศสยาม ปรากฏว่ามี เฒ่าจีน คนหนึ่ง ปรากฏขึ้น และในระยะดังกล่าวนี่เองที่สามารถมองเห็นจุดการเดินทางได้อย่างชัดเจนว่า จากอุดรธานี ผ่านมายังสว่างแดนดิน สกลนคร มุกดาหารและนครพนมส่วนงานของ ดาง วัน กัพ เรื่อง ถนนสายที่ลุงโฮฯ … เดินทาง "Duong Bac Ho Di Cuu Nuoc" ได้ทำให้เรารู้จักชื่อของ โฮ จี มินท์ อีกชื่อหนึ่งคือ ลิว เท ฮานห์ (Lu The Hanh) นอกจากภาพของนักปฏิวัติที่มีความรู้แล้วภาพอีกภาพหนึ่งที่ทำให้เราได้รู้จักก็คือ การเป็นผู้มีความรู้เรื่องการรักษาโรคโดยการใช้ยาจีนบุคลิกของ โฮ จี มินท์ ที่สามารถดึงดูดคนอื่นนั้นไม่มีอะไรนอกจากความเมตตากับคนอื่น รักประชาชน เพื่อประชาชน และคาดหวังความก้าวหน้าให้ทุกคนและการ "เป็นอยู่เพื่อประชาชน"ในส่วนงานของ เซิน จุง เรื่อง "เพราะฉันเป็นฉันกับถนนที่ค้องก้าวเดิน (Con Nguoi Va Con duong)" ได้ยืนยันภาพของลุงจีน ที่เดินทางเพื่อทำการปฏิวัติ แต่ด้วยลุงจีนพูดภาษาภาคกลางจังหวัดเงห์ อาน จึงเป็นอีกครั้งหนึ่งที่โฮ จี มินท์ ต้องเสียลับ เพราะมีคนสังเกตว่าลุงจีน น่าที่จะเป็น เหงียน อ๊าย ก๊วก ทั้งบุคลิกภาพ ความรู้ การพูด น้ำเสียง ผิดไม่ได้?

และในครั้งนี้เองที่ได้เดินทางไปที่นครพนมและร่วมทำงานกันพี่น้องคนเวียตนามในพื้นที่ดังกล่าว และพื้นที่ดังกล่าวนั้น คงต้องรวมถึงบ้านนาจอก หรือบ้านใหม่ หรือบ้านต้นผึ้ง หรือบ้านลักนั่นเองจากงานเขียนของ เหงียน ไต และ เจห์ ซับ เรื่อง ความทรงจำวันแรกที่ลุงโฮฯมาประเทศไทยเพื่อเตรียมการปฏิวัติที่ลาว (Nho lai ngay dua Bac Ho tu thai Lan Sang gay dung co so Cach mang O Loa) ได้พูดถึงหน้าที่ของ เหงียน ไต และ เจห์ ซับ ที่เป็นสมาชิกของสมาคมเยาวชนปฏิวัติ ผมมีหน้าที่ดูแล คนเวียดนามที่จังหวัดสกล รวมตำบลสว่าง พรรณนา นาแก (Xa vang, Pha-na-na, Na-ke) ลุงจีน (ชื่อลุงโฮ่ เมื่อท่านปฏิบัติงานที่ประเทศไทย) ได้มีการเลือกจังหวัดสกลนครเป็นที่อยู่ประจำมีครั้งหนึ่งลุงจีนมาจังหวัดอุบลราชธานี จากอุบลราชธานี ผมได้ตามลุงจีนไปตำบลพิบูล (Phi Mun) พวกเราเข้าไปไต่ถามถึงสภาพครอบครัวของพี่น้องเวียดนามและลุงจีนสรุปว่า "เราต้องสร้างสำนักงานที่นี่เพื่อเป็นพื้นฐานการติดต่อ ระหว่างเราและปากเซ (Pak Xe) เมืองลาว ผ่านตำบลขุหลุ (Khu Lu )" ในฤดูฝนนั้นได้อยู่ประเทศลาวหรือประเทศไทยลุงจีนมักชอบเดินตามทางป่าหรือเข้าไปหมู่บ้านต่างๆ เพราะได้สัมผัสศึกษาชีวิตชาวบ้านและธรรมชาติ อีกอย่างหนึ่งสามารถขอข้าวเหนียวจากวัดต่างๆ ประหยัดค่าใช้จ่าย เข้าไปหมู่บ้านสวันเขต (Xa-Va-na-khet) ตรงข้ามกับมุกดาหาร จากสิ่งที่ปรากฏในเอกสาร สามารถที่จะยืนยันโดยภาพรวมได้ว่า พื้นที่นครพนม หรือบ้านนาจอกนั้น คงเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ โฮ จี มินท์ เดินทางเพื่อการเคลื่อนไหวในภาคอีสาน เพราะเมื่อผนวกกับคำให้การของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนต่างๆ แล้ว ถึงแม้ว่าจะพอเชื่อได้ว่า นั่นคือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องยากในการที่จะเชื่ออย่างสนิทใจ เพราะถึงวันนี้แล้ว เมื่อทุกอย่างเริ่มเปิดและการที่พี่น้องชาวเวียตนามกล้าแสดงออกมานั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าลืมว่า เรื่องราวที่กำลังถูกกล่าวขานกันวันนี้ ต่างคนก็ต่างจำเพียงเรื่องเล่าสืบต่อกันมา หาใช่เป็นคนร่วมสมัยไม่? การศึกษาเรื่องราวของ โฮ จี มินท์ ในประเทศไทยวันนี้ เราคงต้องระมัดระวังร่วมกัน เพราะการศึกษาในเชิงวิชาการนั้น ไม่ใช่การหลงในความเป็นเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ แต่เราต้องเดินเข้าหาข้อเท็จจริงอย่างมีสติ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ประวัติศาสตร์หน้าดังกล่าวคงจะต้องดำมืดและเป็นตำนานอย่างนี้ต่อไป